สังคมถาม สถาบันข้าราชการ ดีกว่าชาวบ้านจริงหรือ.?


ไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ใช้ของปลอม

ในกรณีนี้ไม่ใช่ว่า จะเอาเป็นเอาตาย กับความผิดที่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง แต่เหตุผลที่ สังคมไม่พอใจถึงขั้นหัวฟัดหัวเหวี่ยงในเรื่องนี้ก็เพราะ

   1.    คุณเป็นข้าราชการระดับสูงของกรมทรัพย์สินทางปัญญาไทยที่มีสโลแกนประจำกรมที่ว่า..

ไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ใช้ของปลอม  แต่คุณดันไปขโมยภาพเสียเองมันสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ของข้าราชการ


   2.     สถานกงสุลเข้าไปไกล่เกลี่ยให้ความช่วยเหลือในเวลาอันรวดเร็วภายในไม่กี่วันเรื่องจบทำให้คนข้องใจสถานกงสุลว่า คุณเลือกปฏิบัติหรือเปล่า.?

เพราะเคยมีกรณีของนักท่องเที่ยวไทยไปขโมยของราคาไม่กี่พันบาทด้วยอารมณ์ชั่ววูบที่สวนสนุกชื่อดัง จนถูกดำเนินคดีตากฎหมายญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัดซึ่งใช้ระยะเวลา 45 วันเพื่อรอยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาล ผ่านไป 2 เดือนก็ยังไม่ทราบวันที่ชัดเจนที่กลับไทยได้

กรณีนี้ สถานกงสุลกลับยืนยันว่าไม่สามารถก้าวก่ายแทรกแซง ระบบยุติธรรม หรือกฎหมายญี่ปุ่นได้
กล่าวคือ คนไทยทุกคนเมื่อเข้ามาประเทศญี่ปุ่นแล้วต้องปฏิบัติตามกฎหมายญี่ปุ่น หากกระทำผิดต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายญี่ปุ่น .!

    3.     รองอธิบดีฯ เป็นจำเลยสังคมเพราะทำผิดจริง และอีกประการสำคัญ คือ สังคมไทยรู้สึกว่าไม่พอใจระบบอภิสิทธิ์ที่เกิดขึ้นเยอะมากในตอนนี้และในช่วงเวลาที่ผ่านมา



เมื่อก่อนเป็นยุคที่นักการเมืองมีอำนาจ แต่ปัจจุบันเป็นยุคที่ข้าราชการมีอำนาจ ข้าราชการเป็นใหญ่ เขาก็พยายามจะชูตัวเองว่าคุณอย่าไปตำหนิ อย่างเช่น

มล.ปนัดดา ดิสกุล ก็ออกมาพูดว่า "อย่าไปวิพากย์วิจารณ์สถาบันข้าราชการเพราะมันยังดีอยู่"
วันนี้ ท่านนายกฯ ก็พูดว่า "คนดีไม่ดีต้องแยกออกจากกันอย่าเหมารวม"


คนเริ่มหันมาจับผิด

วิพากย์วิจารณ์ข้าราชการ

เพิ่มมากขึ้นเพราะอะไร.? 


เพราะเขามีอำนาจมาก.. ไม่ว่าจะเรื่องการอนุมัติ ออกใบอนุญาต การควบคุมโน่นนี่ หรือล่าสุดจะเอาปลัดกระทรวงมาคุมสื่อ.! 

คนจึงเริ่มหันมาจับผิดจับตาข้าราชการเพิ่มมากขึ้น เรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านที่ พอคนไม่พอใจนักการเมือง ก็เปลี่ยนมาเชิดชูข้าราชการมืออาชีพเพราะมองว่าเขาเป็นคนดี แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันนักหนา แล้วสังคมก็ไม่ได้รู้สึกว่าข้าราชการเก่ง หรือดีไปกว่านักการเมือง.!




ระบบจารีตนิยมที่ว่า ข้าราชการเป็นเจ้าคนนายคน เริ่มเสื่อมถอยในยุคที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นักการเมืองมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย เพราะนักการเมืองเป็นผู้ออกนโยบาย จึงมีการต่อสู้กันมายาวนานระหว่างระบบราชการกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

ในที่สุดระบบราชการก็ต้องมีการปรับตัวให้ดีขึ้นยกตัวอย่างเช่น เคยมีคำถามว่าภาพลักษณ์ของทหารดีขึ้นเมื่อไหร่.?

ก็ดีขึ้นหลังปี 2535  เพราะถูกบังคับให้กลับกรมกอง  ไม่มีอำนาจออกมายุ่งเกี่ยวกับภายนอกสักเท่าไหร่ก็กลายเป็นหน่วยงานที่เอาไว้ช่วยเหลือเวลามีอุทกภัย แล้วก็เปิดโรงเรียน จปร. เปิดเขาชะโงกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว อะไรแบบนี้่นี่คือภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นเพราะเขาถูกระบบเลือกตั้งมาคุมอำนาจให้อยู่ในลู่ในรอย



แต่ในยุครัฐประหารมา 3 ปีนี้ 

แล้วก็กำลังจะเข้าไปสู่รัฐธรรมนูญใหม่ที่มีข้อจำกัดนักการเมืองเยอะมาก แล้วก็ปรากฏว่าข้าราชการระดับสูงบางองค์กร บางระดับ เช่น องค์กรอิสระ ศาล หรือกองทัพจะมีอำนาจมากขึ้น

ซึ่งจริงๆ แล้วระบบราชการก็มีปัญหาของตัวเองถูกวิพากย์วิจารณ์ค่อนข้างเยอะ ยิ่งข้าราชการที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอะไรมากนัก  ระบบที่มากับเส้นสายก็เยอะ การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งก็ไม่ยุติธรรม และเป็นธรรมเสมอไป เด็กฝากก็มีให้เห็น อีกทั้งข้าราชการบางส่วนประชาชนตรวจสอบไม่ได้ จึงเป็นระบบที่ไม่โปร่งใสสักเท่าไหร่.?


การกลับมามีอำนาจมันจึงมีแรงเสียดทานค่อนข้างเยอะ เพราะเมื่อสังคมเขาไม่ได้ยอมรับเขาก็จะกลับมาตรวจสอบระบบราชการซึ่งจะเป็นภาพสะท้อนที่คอยทิ่มแทงต่อไปว่า.. 

ข้าราชการก็ไม่ควรจะมีอภิสิทธิ์ เพราะสังคมต้องการความเท่าเทียม.!




ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
รายการ ใบตองแห้ง ON AIR
VOICE TV 21
Thairath online
โพสต์ทูเดย์

เพราะความลับไม่มีในอากาศ
>Talk--secret.bolgspot.com

สังคมถาม สถาบันข้าราชการ ดีกว่าชาวบ้านจริงหรือ.? สังคมถาม สถาบันข้าราชการ ดีกว่าชาวบ้านจริงหรือ.? Reviewed by สารธรรม on 09:43 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. ข้าราชการที่ดี ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีคุณธรรมประจำใจ ไม่เล่นพรรคเล่นพวก ไม่รับสินบน ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนในสังคมด้วย

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.